บุซึเกน บุซึโมะ (สันสกฤต : Buddhalocana) เป็นพระโพธิสัตว์ที่ถือเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าทั้งหมดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นภาพวาดของพระนางที่นั่งบนดอกบัว สวมชุดขาว สวมมงกุฏแบบหัวสิงห์ โดยด้านบนสุดมีบทกวีที่เขียนโดยเมียวเอะ (ค.ศ. 1173–1232)
มงกุฏแบบหัวสิงห์
ดอกบัว
เมียวเอะ
เกิดปีที่ 3 ของรัชสมัยโจอัน (ค.ศ. 1173) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ตำบลอะริดะกะวะ จังหวัดวะคะยะมะในปัจจุบัน โดยเป็นคนในตระกูลยุอะซะ เป็นผู้รื้อฟื้นนิกายเคะกอน โดยได้ออกบวชกับพระมองกะคุ วัดจินโกะจิ และได้ศึกษาคำสอนเคะกอนที่วัดโตไดจิ และได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆตามหลักการสอนแบบมิคเคียวจากพระโคเนน วัดคะจูจิ โดยในปีที่ 1 ของรัชสมัยเคนเอ (ค.ศ. 1206) ได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณโทะกะโนะโอะจากจักรพรรดิโกะโทะบะ จึงได้ทำการสร้างวัดโคซังจิขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรื้อฟื้นนิกายเคะกอน โดยเมียวเอะมรณภาพในปีที่ 4 ของรัชสมัยคังกิ (ค.ศ. 1232)
เมียวเอะที่สูญเสียทั้งพ่อและแม่ในวัยเด็ก นับถือบุซึเกน บุซึโมะเหมือนเป็นแม่ของตน เมื่อเมียวเอะอายุ 24 ปี เขาคุกเข่าต่อหน้ารูปบุซึเกน บุซึโมะและได้ทำการตัดหูข้างขวาส่วนหนึ่งจากความศรัทธาในคำสอนของศาสนาพุทธ